ความท้าทาย

บริษัทตระหนักดีว่าความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนสำคัญที่ช่วยพัฒนาการดำเนินงานของบริษัท ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บริษัทจึงมุ่งดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ส่งเสริมให้เกิดการดำเนินงานที่โปร่งใสในองค์กร ผ่านนโยบายการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร เพื่อเป็นแนวทางสำหรับบริษัทและบริษัทในเครือในการกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ซึ่งการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนช่วยให้บริษัท สามารถประเมินความสำคัญและเข้าใจถึงมุมมองและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กร และนำผลการสำรวจดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารงานและขับเคลื่อนองค์กร ภายใต้แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย อีกทั้ง ยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการร่วมลงทุนและพัฒนานวัตกรรมการเพิ่มศักยภาพการดำเนินธุรกิจขององค์กรอย่างยั่งยืน

แนวทางการปฏิบัติงาน

แนวทางการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
ขอบเขตผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืน
ประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ ขอบเขตผลกระทบของประเด็นด้านความยั่งยืน
ภายใน ภายนอก
พนักงาน ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลูกค้า ชุมชน และสังคม คู่ค้าและผู้รับเหมา นักลงทุนและผู้ถือหุ้น
การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามข้อกำหนด
การจัดการนวัตกรรม
ความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ
ความมั่นคงด้านเสถียรภาพ และความพร้อมของการดำเนินการผลิต
การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
การเคารพสิทธิมนุษยชน
การดูแลชุมชนและสังคม
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
สุขภาวะอาชีวอนามัย และความปลอดภัย
การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงาน
การจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ

กลุ่มของผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทได้จำแนกผู้มีส่วนได้เสียเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ชุมชนและสังคม พนักงาน คู่ค้าและผู้รับเหมา ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละปี หน่วยงานที่รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียในแต่ละกลุ่ม จะทำการประเมินบทบาท หน้าที่และความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย และออกแบบวิธีการรวมถึงระดับของการมีส่วนร่วมที่เหมาะสม

ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
  • การมีงานที่มั่นคง
  • การมีสถิติบันทึกเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ดี
  • การมีค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่สามารถแข่งขันได้
  • การมีโอกาสในการเติบโต
  • การได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมรายบุคคล
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
  • แพลตฟอร์มดิจิทัลของบริษัท ได้แก่ CKPower Mobile Application
  • จอประชาสัมพันธ์ Digital Signage
  • การประชุม Town Hall ปีละ 1 ครั้ง
  • การสำรวจความผูกพันพนักงานต่อองค์กรทุกๆ 2 ปี/ ครั้ง
  • ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
  • การให้ผลตอบแทนและผลประโยชน์ที่เป็นธรรม
  • การมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
  • การมีโอกาสในการเติบโต
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การให้ผลตอบแทนและผลประโยชน์ที่เหมาะสมโดยการเปรียบเทียบกับบริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  • การปรับปรุงระบบดิจิตอลเพื่อความสะดวกของพนักงาน
  • การพัฒนาพนักงานทุกคนอย่างต่อเนื่องด้วยงบประมาณจำนวนหนึ่งสำหรับในทุกระดับ
  • การส่งเสริมมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในระดับโลก
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
  • การจ่ายไฟฟ้าได้เต็มประสิทธิภาพ สม่ำเสมอและตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
  • การได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุขึ้น
  • การอำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดความรู้ที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นใน CKPower
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
  • การประชุมลูกค้าประจำปี
  • แบบสำรวจความพึงพอใจประจำปี
  • ศูนย์ติดต่อลูกค้า ติดต่อผ่านเว็บไซต์ของบริษัท
  • การฝึกอบรมสำหรับลูกค้า
  • ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
  • การให้บริการที่มีคุณภาพสูงในปริมาณที่เพียงพอตามที่ตกลงกัน
  • การดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์โปร่งใสบนแนวทางแห่งความยั่งยืน
  • ไม่เลือกปฏิบัติต่อลูกค้า
  • ได้รับการดูแลความเป็นส่วนตัวของข้อมูล
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การรักษาคุณภาพบริการที่ลูกค้าพึงพอใจและพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
  • การสำรวจความพึงพอใจเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการภายในเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดียิ่งขึ้น
  • การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในปี 2565
  • การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
  • การรักษาคุณภาพบริการที่ลูกค้าพึงพอใจและพัฒนาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น
  • การสํารวจความพึงพอใจเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการภายในเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดียิ่งขึ้น
  • การดําเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
  • การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน
  • การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับทิศทางและการดำเนินธุรกิจของบริษัท
  • การมีสิทธิต่าง ๆ ในกรณีที่เป็นผู้ถือหุ้น
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
  • การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี (1 ครั้ง)
  • การรายงานแบบฟอร์ม 56-1 One Report (1 ครั้ง)
  • การจัดทำ Company Snapshot บนเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ (4 ครั้ง)
  • การประชุมร่วมกับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการกองทุน (Analyst Meeting) (4 ครั้ง)
  • กิจกรรม Opportunities Day ของตลาดหลักทรัพย์ (1 ครั้ง)
  • ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
  • การประชุมอื่น ๆ
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
  • ผู้บริหารและพนักงานเข้าใจถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร
  • ความโปร่งใสและการปฏิบัติตามกฎของตลาดหลักทรัพย์และเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล
  • การปฏิบัติต่อนักลงทุนและผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
  • การขยายโอกาสทางธุรกิจอย่างยั่งยืนและจัดหางบลงทุนในโครงการใหม่ โดยยังสามารถรักษาความมั่นคงทางการเงินและสร้างผลกำไรที่ดี
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการสื่อสารและการดำเนินงานอย่างยั่งยืน
  • การเปิดเผยข้อมูลตามแนวปฏิบัติที่เป็นสากลและถูกต้องตามกฎระเบียบ
  • การดำเนินกิจกรรมและจัดให้มีการประชุมเพื่อสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงความคิดเห็นโดยตรงกับบริษัทได้
  • การแสวงหาและร่วมลงทุนกับพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อขยายโอกาสในการลงทุน และสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ
การดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในปี 2565

บริษัทได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อมุ่งหวังให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนที่สนใจได้รับข้อมูลที่เพิ่มความเข้าใจในธุรกิจของบริษัท และใช้ในการประกอบการวิเคราะห์ และการตัดสินใจลงทุน อันจะส่งผลให้มูลค่าที่เหมาะสม (Fair Value) ของหลักทรัพย์ของบริษัท มีความใกล้เคียงความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น

1) การประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายไตรมาส (Quarterly Analyst Meeting)

บริษัทได้จัดการประชุมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์รายไตรมาสเพื่อให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการกองทุนได้รับทราบถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงานในแต่ละไตรมาสเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และรับทราบกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัท รวมถึงเปิดโอกาสให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการกองทุนได้สอบถามประเด็นที่ยังเป็นข้อสงสัยกับบริษัทได้โดยตรง ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างบริษัทและกลุ่มนักลงทุนและผู้ถือหุ้น โดยบริษัทได้รับข้อมูลอันเป็นประโยชน์จากการประชุมไปปรับปรุงแนวทางการพัฒนาธุรกิจของบริษัทต่อไป ซึ่งในการประชุมแต่ละครั้ง บริษัทได้ตั้งเป้าหมายให้มีนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการกองทุนเข้าร่วมการจัดประชุมรายไตรมาส ครั้งละไม่ต่ำกว่า 15 คน มีการลงทะเบียน และมีการประเมินความพึงพอใจในการประชุมแต่ละครั้งเพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการประชุมในครั้งต่อไป

โดยในปี 2565 บริษัทได้ดำเนินการจัดประชุมรวม 4 ครั้ง การประเมินร้อยละความพึงพอใจในการประชุมแต่ละครั้งแสดงให้เห็นว่า นักวิเคราะห์หลักทรัพย์พึงพอใจในระดับร้อยละ 96.7 โดยมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัทเพิ่มขึ้น

ไตรมาสที่ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ระดับความพึงพอใจในการประชุม
1 24 ราย ร้อยละ 100.0
2 15 ราย ร้อยละ 100.0
3 22 ราย ร้อยละ 100.0
4 22 ราย ร้อยละ 86.7

2) บริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (SET Opportunity Day)

กิจกรรมการจัดประชุมผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเดือนกันยายน 2565 เป็นช่องทางการสื่อสารโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุนรายย่อย และผู้ที่สนใจทั่วไป เพื่อให้ได้รับทราบถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงาน และรับทราบกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัท รวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนที่สนใจได้สอบถามประเด็นที่ยังเป็นข้อสงสัยกับบริษัทได้โดยตรง

3) การประชุม Company Visit / One-on-one Meeting

บริษัทได้เปิดโอกาสให้นักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการกองทุนทั้งในและต่างประเทศ สามารถนัดประชุมกับผู้บริหารของบริษัทเกี่ยวกับภาพรวมการดำเนินธุรกิจ รวมถึงสอบถามประเด็นที่เป็นข้อสงสัยเกี่ยวกับบริษัทในรายละเอียดได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงานในแต่ละไตรมาสเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคตของบริษัท และข้อมูลอื่น ๆ ที่กลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยบริษัทได้ดำเนินการจัดประชุมทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่กลุ่มเป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม บริษัทจะไม่รับนัดในช่วงเวลา 1 เดือนก่อนการเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาสหรือรายปีต่อตลาดหลักทรัพย์ (Silent Period) เพื่อเป็นไปตามหลักการกำกับกิจการที่ดี โดยในปี 2565 บริษัทจัดการประชุม Company Visit / One-on-one Meeting จำนวน 5 ครั้ง

4) การประชุม Non-deal Roadshow

บริษัทได้เข้าร่วมงาน Roadshow ที่จัดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการพบปะระหว่างผู้จัดการกองทุนทั้งในและต่างประเทศและผู้บริหารของบริษัท นำไปสู่การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในภาพรวม ทำให้ผู้ลงทุน ผู้จัดการกองทุน นักวิเคราะห์ และผู้ที่สนใจ ได้รับทราบถึงกลยุทธ์และทิศทางการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและอนาคตของบริษัทจากผู้บริหาร และเป็นช่องทางในการสอบถามประเด็นที่เป็นข้อสงสัยต่าง ๆ โดยการประชุมจะมีทั้งแบบ One-on-one Meeting และ One-on-group Meeting และมีการดำเนินการจัดประชุมทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้จัดการกองทุน โดยการประชุม Non-deal Roadshow ที่บริษัทได้เข้าร่วมในปี 2565 ได้แก่ Thailand Focus จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ XPCL Debentures Roadshow

ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
  • การสร้างรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ใกล้เคียงโรงไฟฟ้า
  • การลดผลกระทบจากธุรกิจที่อาจมีต่อชุมชนและสังคม
  • การดำเนินงานที่ไม่มีการละเมิดกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
  • การสำรวจความต้องการชุมชนและเยี่ยมชุมชน
  • กิจกรรมเพื่อสังคมต่าง ๆ (CSR)
  • การเข้าร่วมเครือข่ายภาครัฐ
  • ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
  • การดำเนินที่เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • การบรรเทาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดจากการดำเนินงานของบริษัท
  • เคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของชุมชน
  • ความร่วมมือที่ดีระหว่างชุมชนกับบริษัท
  • ขั้นตอนการจัดการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจมีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
  • การแต่งตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบโรงไฟฟ้าโดยเฉพาะ
  • การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
  • การควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าที่กฎหมายกำหนด
  • การติดตามข่าวสารจากสื่อและนำมาพิจารณาในระหว่างการวางแผน
  • การสื่อสารกับข้อเท็จจริงและข้อมูลที่อัพเดตอย่างสม่ำเสมอ
การดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในปี 2565
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
  • ความไว้วางใจในผลประโยชน์ซึ่งกันและกันด้วยความซื่อสัตย์
  • ความร่วมมือในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนด้วยจรรยาบรรณคู่ค้า
  • การแบ่งปันความรู้และการถ่ายโอนผลิตภัณฑ์และบริการ
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
  • กระบวนการขึ้นรายชื่อผู้ขาย
  • การสำรวจความพึงพอใจ
  • การวิเคราะห์การประชุมทุกไตรมาส
  • ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
  • การจัดหาซื้อและจัดหาที่โปร่งใสและยุติธรรม
  • การชำระเงินที่ตรงเวลาและเชื่อถือได้
  • มีระบบการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล
  • โอกาสในการพัฒนาและเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การกำหนดจรรยาบรรณของคู่ค้าโดยเน้นที่มิติ ESG ร่วมกับการตรวจประเมินประเด็นด้าน ESG
  • การรักษาระดับความไว้วางใจในกระบวนการจัดซื้อด้วยความโปร่งใสให้อยู่ในระดับสูงเสมอ
  • การกำหนดขั้นตอนการชำระเงินเพื่อความสะดวกในการชำระเงินที่ตรงเวลา
การดำเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในปี 2565
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
  • ความร่วมมือในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  • การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่างครบถ้วน
  • การเข้าร่วมเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน
  • การมีความสัมพันธ์ที่ดี
ช่องทางการมีส่วนร่วมและความถี่
  • ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายรวมถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลของบริษัท
  • ช่องทางการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนในเว็บไซต์บริษัท
ประเด็นที่อยู่ในความสนใจ/คาดหวัง
  • การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับทั้งหมดอย่างสมบูรณ์ ให้ความร่วมมือใน การส่งเสริมความยั่งยืนโดยภาพรวม
  • ควบคุมการดำเนินงานของบริษัทเพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • การมีส่วนร่วมในโปรแกรม / กิจกรรม / การแบ่งปันความรู้ที่เกี่ยวข้อง
  • การขับเคลื่อนองค์กรตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และตอบสนองนโยบายของภาครัฐ
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อประเด็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
  • การมีส่วนร่วมในทุกเรื่องที่เกี่ยวกับความยั่งยืน
  • การเสริมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์กับหน่วยงานกำกับดูแลทั้งหมด