ความท้าทาย

ความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของบริษัทและบริษัทในเครือ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมความแข็งแกร่ง มั่นคง และยั่งยืนทางธุรกิจ ซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าและผู้บริโภค รวมถึงยังส่งผลต่อเนื่องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงมีนโยบายขยายการลงทุนในธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางด้านพลังงาน ที่มุ่งเน้นลงทุนในโครงการพลังงานไฟฟ้าสะอาด พลังงานหมุนเวียนที่สร้างมลภาวะน้อยที่สุด และใช้ทรัพยากรในขั้นตอนการผลิตอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

แนวทางการปฏิบัติงาน

บริษัทและบริษัทในเครือให้ความสำคัญในโรงไฟฟ้าต่าง ๆ ที่เข้าไปลงทุน โดยเลือกใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้ระบบการจ่ายไฟฟ้าเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีระบบการบริหารจัดการต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมและการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพให้กับบุคลากรทุกระดับ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาระบบการปฏิบัติงานเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยต่อยอดระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันยังช่วยสร้างความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการดำเนินการผลิตไฟฟ้า บริษัทประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า 3 ประเภท ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าระบบโคเจนเนอเรชั่น และโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์

การดำเนินงาน

ความมั่นคงและความพร้อมของระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า

บริษัทตระหนักถึงการสร้างความมั่นคงและความพร้อมของระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้า โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถส่งมอบไฟฟ้าให้กับลูกค้าทุกรายของบริษัทและบริษัทในเครือได้อย่างมีเสถียรภาพ

ในปี 2562 โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อีกจำนวน 5 โครงการ ได้เริ่มเปิดดำเนินการขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งเพิ่มขึ้นจำนวน 1,291 เมกะวัตต์ ทำให้บริษัทสามารถส่งมอบไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกที่สะอาด เพิ่มความมั่นคงในการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าของบริษัทและตอบสนองต่อความต้องการไฟฟ้าของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น จนถึงปี 2565 บริษัทมีปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตรวมทั้งสิ้น 11,704,379.09 เมกะวัตต์-ชั่วโมง

นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดให้มีระบบควบคุมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่มีความน่าเชื่อถือสูงสุด ซึ่งโรงไฟฟ้าของบริษัทได้รับออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญและมีเครื่องมือตรวจวัดตามมาตรฐานสากล ประกอบกับมีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญตามแผนการติดตามตรวจสอบที่กำหนด รวมถึงการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าตามแผนที่มีการกำหนดช่วงเวลาอย่างชัดเจนตลอดอายุของโรงไฟฟ้า

ประเภทโรงไฟฟ้า กำลังการผลิตติดตั้ง ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตทั้งหมด
พลังน้ำ 1,900.00 เมกะวัตต์ 10,025,549.39 เมกะวัตต์-ชั่วโมง
พลังแสงอาทิตย์ 14.73 เมกะวัตต์ 22,873.85 เมกะวัตต์-ชั่วโมง
โคเจนเนอเรชั่น
  • ไฟฟ้า
237.50 เมกะวัตต์ 1,655,955.84 เมกะวัตต์-ชั่วโมง
  • ไอน้ำ
40.00 เมตริกตัน 78,036.00 เมตริกตัน

การปรับปรุงประสิทธิภาพและลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิต

ในปี 2565 บริษัทมีความพร้อมของระบบจำหน่ายมากกว่าร้อยละ 90 และมีการหยุดการผลิตไม่เป็นไปตามแผน (Unplanned Outage) ระหว่าง 1-2 กรณี ในโรงไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 และโรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่าโรงไฟฟ้าจะมีความพร้อมในการเดินเครื่องอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง บริษัทได้มีการบริหารจัดการด้านความพร้อมใช้งานของโรงไฟฟ้า เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยจัดทำแผนการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันรายปี (Annual Preventive Maintenance) เพื่อเป็นการติดตามตรวจสอบตามระยะเวลาที่กำหนด และจัดให้มีการซ่อมบำรุงให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ รวมทั้งจัดให้มีการสำรองอุปกรณ์ และวัสดุที่จำเป็น รวมทั้งอะไหล่ชิ้นสำคัญ (Critical Spare Part) สำหรับใช้ในการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าอย่างเพียงพอและเหมาะสม โดยบริษัทได้ดำเนินการตามมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ (International Organization for Standardization: ISO) (ISO 9001:2015)

ทั้งนี้ บริษัทได้ดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักร ลดการใช้พลังงาน และลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิต

การบริหารจัดการภาวะวิกฤต

เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นมีความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า บริษัทได้ประกาศใช้นโยบายการบริหารการจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจครอบคลุมทั้งบริษัทและบริษัทในเครือ และยังมีคู่มือแผนฉุกเฉินและทำการอบรมฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินเป็นประจำทุกปี เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดคิด อาทิ อัคคีภัยและอุทกภัย รวมถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยบริษัทได้วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกปี หลังจากที่บริษัทได้ระบุความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว จึงจัดทำแผนบรรเทาผลกระทบเพื่อรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือจากการจัดทำแผนบรรเทาผลกระทบ นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินการปรับปรุงโรงไฟฟ้าให้มีความสามารถทนรับสภาพอากาศที่ร้อนและหนาวจัดได้ และยังมีระบบสาธารณูปโภคของโรงไฟฟ้าที่สามารถดำเนินการภายใต้สภาวะน้ำท่วมได้ รวมทั้งการติดตามและดูแลความปลอดภัยเชิงรุกด้วยทีมวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง โดยติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดและระบบติดตามแบบเรียลไทม์

ผลการดำเนินงาน ปี 2565

ผลการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการดำเนินการผลิต
โรงไฟฟ้า ดัชนีค่าเฉลี่ยความถี่ที่เกิดระบบไฟฟ้าขัดข้อง (SAIFI) ดัชนีค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่เกิดระบบไฟฟ้าขัดข้อง (SAIDI) ดัชนีค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่เกิดระบบไฟฟ้าขัดข้องต่อครั้งที่ส่งผลกระทบต่อลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ (CAIDI)
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี 0.00 0.00 0.00
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 1.00 1.00 1.00
โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ บางเขนชัย 0.00 0.00 0.00
โรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น 0.15 0.06 0.38
โรงไฟฟ้า ดัชนีค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่เกิดระบบไฟฟ้าขัดข้องในระบบการส่งผ่านไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าไปสู่สถานีย่อย (TRANSMISSION NETWORK SAIDI) ดัชนีค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่เกิดระบบไฟฟ้าขัดข้องในระบบการจ่ายไฟฟ้าจากสถานีย่อยไปสู่ลูกค้า (DISTRIBUTION NETWORK SAIDI)
2562 2563 2564 2565 2562 2563 2564 2565
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ND ND ND 0.00 N/A N/A N/A N/A
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ น้ำงึม 2 ND ND ND 0.22 N/A N/A N/A N/A
โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ บางเขนชัย ND ND ND 0.00 ND ND ND 0.00
โรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น ND ND ND 0.76 ND ND ND 0.14
รวม ND ND ND 0.41 ND ND ND 0.09
หมายเหตุ: N/A ย่อมาจาก Not Applicable หมายความว่า ไม่เกี่ยวข้อง
ND ย่อมาจาก No Data Available หมายความว่า ไม่มีข้อมูล
การสูญเสียในกระบวนการส่งผ่านและจ่ายไฟฟ้า (Electricity transmission & distribution losses) 2562 2563 2564 2565
การสูญเสียทางเทคนิคเฉลี่ยในกระบวนการส่งผ่านไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าไปสู่สถานีย่อย (Transmission average technical losses) ร้อยละ (%) ND ND ND 0.76
การสูญเสียทางเทคนิคเฉลี่ยในกระบวนการจ่ายไฟฟ้าจากสถานีย่อยไปสู่ลูกค้า (Distribution average technical losses) ร้อยละ (%) ND ND ND 0.13