ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัท ประจำปี 2565

การวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ

ในปี 2565 บริษัทได้พิจารณาการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัท (Materiality Topic) โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ บริษัทได้คำนึงถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในการวิเคราะห์ผลกระทบร่วมด้วย ตามแนวทางที่ระบุในมาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) 2021 โดยกระบวนการระบุประเด็นสำคัญนั้นมีดังต่อไปนี้

ผลการวิเคราะห์ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัท

จากการวิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย และการจัดลำดับประเด็นสำคัญ ทำให้บริษัทสามารถจำแนกประเด็นที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทออกเป็น ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัท (Materiality Topics) 8 ประเด็น และประเด็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัท (Business Fundamental Topics) 5 ประเด็น

ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัท

ในกระบวนการพิจารณาผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม ในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ บริษัทเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของผลกระทบแต่ละด้าน โดยอ้างอิงตามข้อกำหนดและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนสากลอันเป็นที่ยอมรับ จำนวน 24 ประเด็น ดังนั้น การวางแผนและกำหนดแนวทางการดำเนินงานใน 13 ประเด็นข้างต้น จะสามารถลดผลกระทบเชิงลบ ส่งเสริมผลกระทบเชิงบวกต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทได้อีกด้วย

  1. สิทธิในการมีชีวิต
  2. สิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกาย จะถูกจับกุมหรือควบคุมโดยอำเภอใจมิได้ จะถูกลิดรอนเสรีภาพของตนมิได้ ยกเว้นโดยเหตุและโดยเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
  3. สิทธิที่จะไม่ตกเป็นทาสและแรงงานบังคับ / สิทธิที่บุคคลไม่ควรถูกปฏิบัติเยี่ยงทาส รวมทั้งการบังคับใช้แรงงาน
  4. สิทธิที่จะไม่ถูกกระทำการทรมาน การลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือ ย่ำยีศักดิ์ศรี
  5. สิทธิการระลึกถึงตัวตนของบุคคลก่อนการมีกฎหมาย / สิทธิในการได้รับความเท่าเทียมกับบุคคลอื่น และการเคารพความเป็นบุคคลของกันและกัน แม้ปราศจากซึ่งกฎหมายรองรับ
  6. สิทธิเท่าเทียมของบุคคลตามกฎหมาย ทั้งด้านการได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน และไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
  7. สิทธิในการเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิผล
  8. สิทธิการได้รับกระบวนการทางศาลที่เป็นธรรม
  9. สิทธิในการแต่งงานและสร้างครอบครัว
  10. สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน / สิทธิที่จะเป็นเจ้าของสิ่งของและทรัพย์สินของตนเอง และไม่มีใครมีสิทธิที่จะเอาทรัพย์สินของเราไปโดยที่เราไม่อนุญาต
  11. สิทธิในการมีอิสระทางความคิด และนับถือศาสนา
  12. สิทธิในการแสดงความคิดเห็น เข้าถึงข้อมูล และแสดงออก / สิทธิในการมีอิสรภาพที่จะพูดหรือแสดงออก ในสิ่งที่คิด และแบ่งปันความเห็นให้คนอื่นได้ทราบ รวมถึงได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง
  13. สิทธิในการชุมนุม / สิทธิในการมีเสรีภาพที่จะชุมนุมเพื่อร่วมกันทำงานที่สร้างสรรค์
  14. สิทธิในเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม เพื่อปกป้องประโยชน์ของตน
  15. สิทธิในการมีส่วนร่วมในชีวิตสาธารณะ / กิจกรรมสาธารณะ
  16. สิทธิในการเข้าถึงสวัสดิการสังคม เช่น ประกันสังคม
  17. สิทธิในการทำงาน
  18. สิทธิในการได้รับสภาพเงื่อนไขการทำงานที่เป็นธรรมและน่าพอใจ
  19. สิทธิในการก่อตั้ง เข้าร่วมสหภาพแรงงาน และการผนึกกำลังเพื่อปกป้องผลประโยชน์ในการทำงาน
  20. สิทธิที่จะได้รับการดำรงชีวิตที่ดี เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และการบริการสาธารณะ ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตที่ดี
  21. สิทธิด้านสุขภาพ
  22. สิทธิด้านการศึกษา
  23. สิทธิในการเข้าร่วมวิถีชีวิตทางวัฒนธรรม ได้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาทางวัตถุ และการรักษาสิทธิของผู้ประพันธ์
  24. สิทธิเสรีภาพในการกำหนดวิถีชีวิตตนเองและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

ประเด็นความยั่งยืนของบริษัท ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย และแนวทางการจัดการ

ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงลบ

ความสอดคล้องต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการจัดการ
1. การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามข้อกำหนด
  • พนักงาน
  • หน่วยงานภาครัฐ
  • ลูกค้า
  • ชุมชนและสังคม
  • คู่ค้า
  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

กรณีร้องเรียนจากการละเมิดข้อกำหนดและกฏหมาย หรือการขาดการบริหารความเสี่ยงที่ดีอาจส่งผลให้การดำเนินธุรกิจหยุดชะงักจนส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพในการดำเนินงานและส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียได้ในภาพรวม

การกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามข้อกำหนด เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ส่งผลต่อความไว้วางใจของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม หากบริษัทแสดงผลการดำเนินงานอย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ และเป็นไปตามความคาดหวังก็จะทำให้เกิดความไว้วางใจต่อบริษัทเพิ่มขึ้น

  • กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อกำกับดูแล เช่น นโยบายการกำกับดูแลกิจการ นโยบายการบริหารความเสี่ยง จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ แนวปฏิบัติต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
  • ประเมินความเสี่ยงองค์กร เพื่อประเมินและติดตามมาตรการจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  • จัดทำช่องทางการร้องเรียน
2. การจัดการนวัตกรรม
  • พนักงาน
  • คู่ค้า
  • ชุมชนและสังคม

การพัฒนานวัตกรรมช่วยเพิ่มทักษะและแลกเปลี่ยนความรู้

การลดการใช้ทรัพยากรและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม

  • บริษัทได้กำหนดแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมโดยเริ่มต้นจากการพัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่ายเพื่อต่อยอดนวัตกรรม
  • ส่งเสริมให้เกิดการเผยแพร่นวัตกรรมไปสู่ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร
  • ประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม
  • ลูกค้า
  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

นวัตกรรมช่วยให้กระบวนการผลิตไฟฟ้ามีประสิทธิภาพและเสถียรภาพมากขึ้น และส่งผลต่อความมั่นคงในการลงทุน

  • ชุมชนและสังคม

นวัตกรรมที่นำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

3. ความยืดหยุ่นในการดำเนินธุรกิจ
  • พนักงาน
  • ลูกค้า
  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น
  • หน่วยงานภาครัฐ
  • ชุมชนและสังคม

เพิ่มความสามารถในการตอบสนอง ความคล่องตัว และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย

  • จัดทำกลยุทธ์และแนวทางดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
  • เพิ่มความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • ขยายการลงทุนในธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่หลากหลายมากขึ้น
  • ขยายธุรกิจในเชิงพื้นที่
  • ขยายโอกาสในการดำเนินธุรกิจด้านคาร์บอนเครดิตและใบรับรองพลังงานทดแทนเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
  • พนักงาน

เปิดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน และเป็นการดึงดูดพนักงานที่มีความสามารถซึ่งส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ
อาจมีการปรับโครงสร้างองค์กร หรือเปลี่ยนรูปแบบการผลิตตามรูปแบบธุรกิจใหม่ และอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งและจำนวนของพนักงานในแต่ละสายงาน

  • คู่ค้า

อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงคู่ค้าในกรณีที่มีการเพิ่มหรือลดแนวทางการดำเนินธุรกิจ

  • ชุมชนและสังคม

มีการขยายโครงการไปยังพื้นที่ใหม่ ซึ่งอาจเป็นการรบกวนคนในพื้นที่ หรืออาจต้องทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน ในทางกลับกันกรณีที่บริษัทมีการสนับสนุนชุมชนและสังคม ก็เป็นการขยายพื้นที่ในการทำโครงการ CSR ต่าง ๆ

4. ความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการดำเนินการผลิต
  • พนักงาน

ความพึงพอใจ และความมั่นใจในการทำงาน เนื่องจากพนักงานจะได้รับการสนับสนุนในการทำงานและมีโอกาสในการพัฒนาตนเอง ซึ่งรวมไปถึงการดูและสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน

โอกาสเรียนรู้และพัฒนาความเชี่ยวชาญในการดำเนินการผลิตไฟฟ้า เนื่องจากจะต้องใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยและทันกาลเพื่อรองรับการดำเนินการผลิตที่มีความซับซ้อน

  • การตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในโรงไฟฟ้า
  • การสำรวจและวิเคราะห์ความเสี่ยงในการผลิตไฟฟ้า
  • การวางแผนและจัดทำแผนการจัดการฉุกเฉิน
  • การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการ และนวัตกรรมที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า
  • การสร้างและดูแลระบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อลดความเสี่ยงจากการดำเนินงานของมนุษย์
  • การจัดการและควบคุมคุณภาพของเชื้อเพลิงและและการส่งมอบวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้า
  • การพัฒนาและบูรณาการระบบการจัดเก็บและจัดการข้อมูล
  • การอบรมและพัฒนาทักษะของพนักงานในด้านความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการดำเนินการผลิต
  • การทบทวนและปรับปรุงนโยบายและกระบวนการด้านความมั่นคงด้านเสถียรภาพและความพร้อมของการดำเนินการผลิต
  • หน่วยงานภาครัฐ

ความสามารถในการจัดหาพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคและประเทศ ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานในประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ

การดำเนินการผลิตไฟฟ้าที่ไม่มีความมั่นคงอาจส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนในภูมิภาคและประเทศ

การมีปัญหาในการใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงพอในกรณีที่มีการลดอัตราการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าอาจส่งผลต่อการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐที่มีความสำคัญต่อประชาชน

  • ลูกค้า

การหยุดการผลิตจะส่งผลให้ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าเกิดการขัดข้องได้ ส่งผลเสียต่อชื่อเสียง และเพิ่มต้นทุนในการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยง เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในการดำเนินงาน

การขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า รวมถึงการล่าช้าในการให้บริการหรือการตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า และอาจส่งผลต่อความไว้วางใจของลูกค้าในการใช้บริการของโรงไฟฟ้าในอนาคต

เสถียรภาพของการส่งไฟฟ้าส่งผลต่อการดำเนินงานของลูกค้าโดยตรง ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปถึงประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของเครื่องจักรและอุปกรณ์การรับและผลิตไฟฟ้าของลูกค้า

  • ชุมชนและสังคม

ไม่สามารถใช้ไฟฟ้าได้เป็นวงกว้าง เกิดความเสียหาย

การดำเนินการผลิตไฟฟ้าในสภาวะที่ไม่เสถียรอาจส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ และมีผลกระทบต่อความปลอดภัยและสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

  • คู่ค้า

การเพิ่มนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ในการผลิตไฟฟ้าของบริษัท อาจส่งผลกระทบต่อคู่ค้าในการจัดหาเครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพิ่มเสริมเสถียรภาพการผลิต ซึ่งอาจเป็นการเพิ่มต้นทุนในการดำเนินงานของคู่ค้า แต่ก็ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คู่ค้าได้เกิดการพัฒนานวัตกรรมร่วมไปกับบริษัท

ความเสียหายของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า อาจทำให้โรงไฟฟ้าต้องหยุดการผลิตไฟฟ้าชั่วคราว ซึ่งอาจส่งผลให้คู่ค้าต้องหยุดการผลิตหรือดำเนิน

  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

ผลกระทบต่อราคาหุ้นของบริษัทผู้ดำเนินกิจการโรงไฟฟ้า และผลตอบแทนของการลงทุนในระยะยาว

5. การบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
  • พนักงาน

ได้รับฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการบริหารจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า และพัฒนาทักษะการสื่อสารและการจัดการปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับลูกค้า

มีความมั่นคงทางอาชีพ และผลตอบแทนที่ดีที่ได้รับจากบริษัท

สมรรถนะการทำงานของพนักงานที่เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากการได้รับทราบความพึงพอใจของลูกค้า

  • การพัฒนานโยบายที่เน้นการบริการลูกค้าที่ดีและมุ่งเน้นความพึงพอใจของลูกค้า
  • การให้บริการลูกค้าที่มีคุณภาพโดยตรงและรวดเร็ว รวมถึงการตอบสนองต่อคำถามและข้อร้องเรียนของลูกค้าอย่างทันท่วงที
  • การสร้างช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น การให้บริการผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล และเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เป็นต้น
  • สร้างความโปร่งใสและการแจ้งข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
  • จัดทำแผนกลยุทธ์ที่เน้นไปที่การพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า เช่น การจัดกิจกรรมสำหรับลูกค้าทำส่งเสริมความเข้าใจในการดำเนินงานของบริษัท และลดข้อห่วงกังวลในด้านต่าง ๆ เป็นต้น
  • การวิเคราะห์และติดตามข้อมูลการใช้บริการของลูกค้า เพื่อปรับปรุงแนวทางการบริการให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
  • การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยมีแผนการพัฒนาเทคโนโลยีและวิจัยให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า
  • ลูกค้า

ความพึงพอใจของลูกค้า และความไว้วางใจในการตอบสนองความต้องการทางพลังงานโดยการส่งไฟฟ้าอย่างมีเสถียรภาพและการเพิ่มกำลังการผลิต

การขาดความสะดวกสบายในการใช้บริการของลูกค้า ซึ่งอาจส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดความผิดพลาดและความล่าช้าในการดำเนินงาน

  • ชุมชนและสังคม

ความพึงพอใจในวงกว้างให้กับสังคมจากการตอบสนองความต้องการทางพลังงานในวงกว้างโดยการส่งไฟฟ้าอย่างมีเสถียรภาพและการเพิ่มกำลังการผลิต

  • คู่ค้า

ผลกระทบทางอ้อมทางด้านความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจ

  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

ผลกระทบทางอ้อมทางด้านการเติบโตทางการเงิน และความมั่นใจของนักลงทุน

ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงลบ

ความสอดคล้องต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการจัดการ
6. การเคารพสิทธิมนุษยชน
  • พนักงาน
  • หน่วยงานภาครัฐ
  • ลูกค้า
  • ชุมชนและสังคม
  • คู่ค้า
  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนสามารถส่งผลให้เกิดการฟ้องร้องค่าเสียหาย การหยุดชะงัดของการดำเนินธุรกิจ และการสูญเสียความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย

การดูแลและปฏิบัติอย่างเท่าเทียมตลอดห่วงโซ่อุปทาน เป็นการส่งเสริมสิทธิมนุษชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และความเชื่อมั่นและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

  • การกำหนดนโยบายและแนวทางเพื่อตรวจสอบ ติดตาม และป้องกันความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่อุปทานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลจะช่วยให้การดำเนินธุรกิจทำได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน
  • จัดทำกลยุทธ์และแนวทางดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
  • ดำเนินการประเมินความเสี่ยง และตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)
  • โครงการหรือกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน
  • จัดให้มีแนวทางการจัดการเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ
  • จัดให้มีช่องทางการร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน
  • พนักงาน

แนวทางการบริหารองค์กรของบริษัท มีส่วนในการกำหนดสวัสดิการ แนวทางการดำเนินงาน การให้อิสระในการแสดงความคิดเห็น การพัฒนาพนักงานซึ่งส่งผลกระทบถึงสวัสดิการครอบครัวของพนักงาน และความมั่นคงด้านอาชีพ

  • ชุมชนและสังคม

การควบคุมการดำเนินงานที่มีธรรมาภิบาล และมีระบบการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ดี ส่งผลต่อสิทธิพื้นฐานในการดำรงชีวิตของชุมชนและสังคม โดยเฉพาะชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้า ซึ่งส่งผลถึงคุณภาพชีวิตและสุขภาพ

7. การดูแลสังคมและชุมชน
  • พนักงาน
  • ลูกค้า
  • คู่ค้า
  • ชุมชนและสังคม
  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

การสร้างหรือลดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทและชุมชนจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย

  • กำหนดนโยบายการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน
  • จัดทำกลยุทธ์และแนวทางดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
  • การดำเนินกิจกรรมและโครงการการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจ
  • ชุมชนและสังคม

การปฏิบัติงานของโรงไฟฟ้าอาจส่งผลต่อสภาพแวดล้อม สุขภาพ และวิถีในการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า

  • พนักงาน

เพิ่มความสามารถของพนักงาน ผ่านการเข้าร่วมโครงการ CSR ทำให้พนักงานได้เข้าใจชุมชนและมีแรงจูงใจในการทำโครงการเพื่อชุมชน และเป็นการช่วยเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรกับพนักงาน

8. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • ลูกค้า

ความมั่นใจในการให้บริการและการส่งมอบกระแสไฟฟ้าของบริษัทจะไม่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ความตรงตามเวลาในการส่งมอบกระแสไฟฟ้าที่กำหนด มีผลต่อการวางแผนการใช้งานของลูกค้า และอาจส่งผลต่อกำลังการผลิตของลูกค้า

  • การตรวจสอบและเลือกคู่ค้าที่มีมาตรฐานคุณภาพสูง ช่วยให้องค์กรมีการจัดหาวัตถุดิบและบริการที่มีคุณภาพและเป็นมาตรฐาน ลดความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบและการให้บริการที่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ
  • กำหนดมีนโยบายและกระบวนการที่ชัดเจนในการเลือกคู่ค้าและการติดตามสถานะการผลิตของคู่ค้า เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดหาวัตถุดิบมีคุณภาพและเป็นมาตรฐานตลอดเวลา
  • ออกแบบกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในการต่าง ๆ และเป้นการลดความเสี่ยงในการส่งมอบไฟฟ้าให้แก่ลูกค้า
  • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้บริษัทมีข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการประมวลผลเพื่อการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เลือกใช้วัตถุดิบที่มีแหล่งที่มาอย่างยั่งยืนและมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตไฟฟ้า
  • การสร้างความตระหนักในการประหยัดพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • ชุมชนและสังคม

เกิดความมั่นใจว่าคู่ค้าของบริษัทนั้นไม่มีความเสี่ยงต่อชุมชน หรือจะมีการเยียวยาหากมีผลกระทบที่เกิดขึ้น

  • คู่ค้า

การกำหนดมาตรฐฐานที่เข้มงวดในการรับซื้อวัตถุดิบ อาจทำให้คู่ค้าต้องนำวัตถุดิบเหล่านั้นไปทำการตรวจสอบและปรับปรุงให้เหมาะสมก่อนนำไปใช้งานหรือส่งมอบ รวมถึงการปรับปรุงระบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทที่กำหนดขึ้น อาจเป็นภาระกิจและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับคู่ค้า

ได้รับการประเมินความเสี่ยง และติดตามตรวจสอบระบบการทำงานทั้งทางด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นการส่งเสริมมาตรการฐานด้าน ESG ของคู่ค้าให้สูงขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยให้คู่ค้าสามารถปรับการดำเนินงานเพื่อลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

เกิดความมั่นใจว่าคู่ค้าของบริษัทจะไม่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน และไม่เกิดความขัดข้องในการดำเนินธุรกิจ สร้างความมั่นในให้กับนักลงทุน

9. สุขภาวะอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • พนักงาน
  • คู่ค้า

การจัดการทางด้านสุขภาวะอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีผลทั้งต่อพนักงานและคู่ค้า (ผู้รับเหมา) อันเนื่องจากความเกี่ยวข้องกับสภาวะการทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ/หรือเอื้อต่อการทำงานที่ปลอดภัย

การดูแลสุขภาพอาชีวอนามัยของพนักงานและการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน จะช่วยลดการลาออกของพนักงาน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และลดค่าใช้จ่ายในการจัดการโรคและอุบัติเหตุในที่ทำงาน

การให้การดูแลสุขภาพอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน จะช่วยสร้างความเข้าใจและความสนใจในการทำงานของพนักงาน และคู่ค้า ที่เป็นการช่วยเพิ่มความผูกพันกับองค์กร

  • กำหนดนโยบายการจัดการความปลอดภัยในที่ทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงาน ผู้รับเหมา และผู้ที่เข้ามาใช้บริการขององค์กรจะมีความปลอดภัยตลอดเวลา
  • การจัดให้มีการติดตามประสิทธิภาพ โดยการเก็บข้อมูล และกำหนดมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
  • ส่งเสริมการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมในที่ทำงาน และสนับสนุนการพัฒนาสุขภาพของพนักงานให้เป้นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน
  • สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่มุ่งเน้นความปลอดภัย และสุขภาวะอาชีวอนามัยทั่วทั้งองค์กร
  • การได้รับ ISO 45001:2018 ถือเป็นการยืนยันมาตรฐานสำหรับระบบบริหารความปลอดภัยและสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน (Occupational Health and Safety Management Systems - Requirements with guidance for use) มีเป้าหมายในการช่วยองค์กรในการจัดการและป้องกันอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าร่วมการประมูลหรือการสั่งซื้อจากลูกค้าที่ต้องการผู้ขายที่มีมาตรฐานสูง ซึ่งอาจช่วยเพิ่มรายได้และฐานลูกค้าขององค์กรได้เช่นกัน
  • หน่วยงานภาครัฐ

การปฏิบัติตามกฎหมาย มาตรการและข้อกำหนดด้านสุขภาวะอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ภาครัฐต้องเข้ามาควบคุมกำกับดูแล ในกรณีที่องค์กรไม่ปฏิบัติตามหลักสุขภาวะอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

  • ชุมชนและสังคม

ทำให้เกิดความมั่นคงและความเชื่อมั่นให้กับชุมชนรอบโรงไฟฟ้าได้ โดยผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถรับรู้ได้ถึงความมั่นคงขององค์กรและมีความเชื่อมั่นในการใช้บริการจากบริษัท

ลดอันตรายและความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุหรือการป่วยของพนักงานในองค์กร ซึ่งจะช่วยลดภาระการรักษาพยาบาลในชุมชนรอบโรงไฟฟ้า

การควบคุมการรั่วไหลของสารเคมี หรือการดำเนินงานต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความปลอดภัยภายในโรงไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม อาจส่งผลต่อความปลอดภัยของชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ รวมถึงสภาวะที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต เช่น เสียงรบกวน คุณภาพอากาศในบรรยากาศ และคุณภาพน้ำ เป็นต้น

  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

อุบัติเหตุ/การสูญเสียซึ่งเกิดจากกิจกรรมภายในองค์กร อาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัท ชื่อเสียง และมูลค่าหุ้นได้

10. การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงาน
  • พนักงาน

การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงานจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการทำงานของพนักงาน ทำให้พนักงานมีความมั่นใจในความสามารถของตนเอง และเป็นกำลังใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การพัฒนาศักยภาพและการฝึกอบรมช่วยเพิ่มทักษะและความสามารถใหม่ ๆ ของพนักงาน ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรได้ดียิ่งขึ้น

การดูแลพนักงานด้วยการให้เกียรติและสนับสนุนทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงาน ช่วยเสริมสร้างความผูกพันของพนักงานและองค์กร และส่งผลให้พนักงานพึงพอใจในการทำงานและอยู่ในองค์กรในระยะยาว

การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงานที่ดีช่วยลดการสูญเสียพนักงานขององค์กร และลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสำหรับพนักงานใหม่ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

  • จัดให้มีแผนการพัฒนาศักยภาพและการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและความสามารถของพนักงานในการปฏิบัติงาน โดยการพัฒนาศักยภาพนี้จะต้องเป็นไปในทิศทางที่ตรงกับการพัฒนาองค์กร และการฝึกอบรมนั้นควรเป็นระบบเป็นต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานได้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานที่เป็นไปตามมาตรฐานขององค์กร
  • การให้เกียรติแก่พนักงาน ซึ่งมีผลต่อสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและองค์กร และส่งผลต่อผลการทำงานของพนักงาน องค์กรควรสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้พนักงานรู้สึกว่าได้รับการพิจารณาเป็นอย่างดีและได้รับการให้เกียรติตามความสมควร
  • มีการสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของพนักงาน และดำเนินงานโดยให้ความสำคัญกับเสียงสะท้อนที่ได้รับจากพนักงาน เพื่อเพิ่มระดับความพึงพอใจของพนักงาน
  • มีการเข้าถึงข้อมูลและแนวทางการพัฒนาศักยภาพอย่างเหมาะสม ทำให้พนักงานมีสิทธิ์เลือกเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามความต้องการ นอกจากนี้ บริษัทยังมีการจัดการการเข้าถึงข้อมูลและแนวทางการพัฒนาศักยภาพอย่างเหมาะสมอ ต่อเนื่อง และส่งเสริมพนักงานให้พัฒนาศักยภาพและความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง
  • ลูกค้า

ลูกค้าได้รับการบริการที่ดีจากพนักงานที่มีความสามารถ และมีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลกระทบเชิงบวก ผลกระทบเชิงลบ

ความสอดคล้องต่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการจัดการ
11. การจัดการสิ่งแวดล้อม
  • หน่วยงานภาครัฐ
  • ลูกค้า
  • ชุมชนและสังคม
  • คู่ค้า
  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

การดำเนินการที่ขัดต่อข้อกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมอาจส่งผลต่อชุมชนและเกิดการร้องเรียนต่อหน่วยงานกำกับดูแลของภาครัฐจนอาจเกิดการหยุดชะงักของการดำเนินธุรกิจ จะส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ลดความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อองค์กร อันมีผลเกี่ยวเนื่องต่อการลงทุนในภาพรวม

  • กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
  • มีกระบวนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และประสิทธิภาพการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัท
  • มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล
  • จัดการน้ำ ของเสียทั่วไปและของเสียอันตราย และควบคุมคุณภาพอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานทางกฎหมาย ส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต
  • กำหนดเกณฑ์ในการคัดกรองด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับคู่ค้า
  • พนักงาน

การใช้นวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม จะเป็นการสนับสนุนองค์ความรู้ของพนักงานเพื่อเป็นฟันเฟืองที่ช่วยในการขับเคลื่อนให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย

  • ชุมชนและสังคม

การจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนของการใช้ทรัพยากร และการควบคุมการระบายของเสียจากกิจกรรมการทำธุรกิจของบริษัทส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน

  • ลูกค้า
  • คู่ค้า

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ ซึ่งอยู่ภายใต้การคัดเลือกคู่ค้าอย่างยุติธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ เป็นการส่งเสริมความร่วมมือที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

12. การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • ลูกค้า
  • หน่วยงานภาครัฐ
  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของบริษัทมีผลต่อเป้าหมาย ความคาดหวัง ข้อกำหนด และนโยบายที่บริษัทลูกค้า หรือภาครัฐได้กำหนดขึ้น ส่งเสริมประสิทธิภาพและความมั่นคงในการดำเนินและตลาดการลงทุนธุรกิจ

การขาย REC และ Green Bond เป็นการเพิ่มโอกาสในการลงทุนให้แก่นักลงทุน ขยายตลาดของลูกค้า และสนองนโยบายของภาครัฐ

  • กำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงาน และนโยบายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
  • จัดทำการประเมินความเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อกำหนดแนวทางการรับมือ
  • จัดทำกลยุทธ์และแนวทางดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
  • เผยแพร่ และนำแนวทางการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไปใช้ในชุมชนและสังคม รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  • เพิ่มการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
  • เพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และประยุกต์นำนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า
  • พนักงาน

การใช้นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นการสนับสนุนองค์ความรู้ของพนักงานเพื่อเป็นฟันเฟืองที่ช่วยในการขับเคลื่อนให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย

  • ชุมชนและสังคม

การจัดการพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีส่วนทั้งในการเป็นตัวเร่งผลกระทบ และบรรเทาผลกระทบในด้านการใช้พลังงาน และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม

  • ลูกค้า
  • คู่ค้า

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ ซึ่งอยู่ภายใต้การคัดเลือกคู่ค้าอย่างยุติธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ เป็นการส่งเสริมความร่วมมือที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

  • หน่วยงานภาครัฐ

บริษัทเป็นผู้มีส่วนได้เสียของภาครัฐที่จะเป็นเสียงสะท้อนให้ภาครัฐได้รับทราบถึงแนวทางการดำเนินงานของภาคเอกชน มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งวิกฤตและโอกาสต่าง ๆ ในโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่ภาครัฐได้จัดขึ้น

13. ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • ลูกค้า
  • ชุมชนและสังคม
  • คู่ค้า
  • นักลงทุนและผู้ถือหุ้น

การส่งเสริม หรือทำให้ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพเสื่อมโทรม สามารถส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต และการประกอบอาชีพของชุมชน และอาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นในองค์กร

  • กำหนดนโยบายการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
  • จัดทำกลยุทธ์และแนวทางดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
  • วางแผนการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ และดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการให้บริการด้านความหลากหลายทางชีวภาพผ่านโครงการต่าง ๆ
  • พนักงาน
  • คู่ค้า

การใช้นวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ จะเป็นการสนับสนุนองค์ความรู้ของพนักงานและคู่ค้าเพื่อเป็นฟันเฟืองที่ช่วยในการขับเคลื่อนให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย

  • ลูกค้า
  • หน่วยงานภาครัฐ

การดำเนินงานเพื่อส่งเสริมด้านความหลากหลายทางชีวภาพของบริษัท เป็นการสนับสนุนนโยบายและเป้าหมายด้านความหลากหลายทางชีวภาพของลูกค้าและหน่วยงานภาครัฐ ทำให้ลูกค้าและหน่วยงานภาครัฐสามารถจัดการความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างครบห่วงโซ่อุปทาน และนโยบายของรัฐ

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (SDGs) และการเข้าร่วมข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ UN Global Compact

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs)

บริษัทขับเคลื่อนการดำเนินงานความยั่งยืน โดยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ในประเด็นที่สอดคล้องกับขีดความสามารถและศักยภาพทางธุรกิจของบริษัท ภายใต้การดำเนินการความยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (Governance & Economic) โดยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 13 เป้าหมายจากทั้งหมด 17 เป้าหมายผ่านประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัท 8 ข้อ และประเด็นพื้นฐานในการดำเนินธุรกิจของบริษัท 5 ข้อ

มิติ เป้าหมายความยั่งยืน

มิติสิ่งแวดล้อม

มิติสังคม

มิติบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ

การเข้าร่วมข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ UNITED NATIONS GLOBAL COMPACT

บริษัทเล็งเห็นความสำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ในฐานะของบรรษัทพลเมืองที่ดี และมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นหนึ่งในแรงผลักดัน ส่งเสริม และสรรสร้างสังคมที่มีความเป็นอยู่ที่ดี บริษัทจึงได้เข้าร่วมข้อตกลงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UN Global Compact) ในฐานะสมาชิก เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของบริษัทและตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักสากล 10 ประการ ภายใต้ความรับผิดชอบพื้นฐานในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต และเพื่อเป็นการขับเคลื่อนภาคธุรกิจของประเทศไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจตามหลักการดังกล่าว

การเข้าร่วมข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ UNITED NATIONS GLOBAL COMPACT หรือ คลิก

บริษัทได้คำนึงถึงการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) และหลักสากล 10 ประการตามข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ UNITED NATIONS GLOBAL COMPACT ในการพัฒนากรอบการดำเนินด้านความยั่งยืน “C-K-P” ของบริษัท เพื่อส่งเสริมให้บริษัทมีการดำเนินงานด้านความยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายและข้อกำหนดที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล