การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงาน
ความท้าทาย (GRI 103-1)
เพื่อความสอดคล้องระหว่างทิศทางของบริษัทและความสามารถของพนักงาน รวมถึงการดูแลพนักงานอย่างเหมาะสม
บริษัทกำหนดกำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคล ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
นโยบายการบริหารงานบุคคล
การพัฒนาศักยภาพและการดูแลพนักงาน
พนักงานที่มีศักยภาพเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่องค์กร อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความสามารถในการปรับตัวขององค์กรตามการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจไฟฟ้า ดังนั้น บริษัทจึงมีการกำหนดและวางแผนพัฒนาศักยภาพของพนักงานที่เหมาะสมกับตำแหน่งทั้งองค์กร ให้สอดคล้องกับนโยบายและแนวโน้มการขยายตัวทางธุรกิจของบริษัท โดยมีการทบทวนแผนการฝึกอบรมสำหรับพนักงานในแต่ละระดับเป็นประจำทุกปี
เครื่องมือที่บริษัทใช้ในการพัฒนาศักยภาพพนักงาน ประกอบด้วย เครื่องมือเพื่อพัฒนาบุคคลกรให้เกิดการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้ โดยในปี 2564 บริษัทได้จัดทำแผนการเสริมสร้างศักยภาพให้กับพนักงานทั้ง Reskill & Upskill เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาความรู้และทักษะการทำงานได้ด้วยตนเอง โดยได้จัดทำ CKP Academy application ที่เป็นอีก 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบ Lifelong Learning คือ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วยตัวเอง (Self-initiated study) ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่าน Virtual Training และ E-learning เช่น
- หลักค่านิยมองค์กร (Core Value)
- หลักการไคเซน (Kaizen)
- การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ผ่านการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ (Knowledge sharing)
- การเรียนรู้จากการอ่านผ่าน Infographic ซึ่งเป็นเกร็ดความรู้และเทคนิคในการทำงาน
นอกจากนั้น บริษัทได้รวบรวมความรู้ต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือในการ Up skill & Re skill ให้กับพนักงานทุกระดับ เพื่อให้เลือกพนักงานสามารถพัฒนาตนเอง โดยจัดทำรูปแบบการใช้งาน ดังนี้
- แผนพัฒนาศักยภาพรายบุคคล (Individual development plan) ที่จัดทำขึ้นโดยพิจารณาจากสมรรถนะที่จำเป็น (Required competency) ซึ่งประกอบด้วยสมรรถนะด้านตำแหน่งงาน และสมรรถนะด้านการเป็นผู้นำ ที่จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของงาน โดยบริษัทได้ดำเนินการวางแผนและจัดทำ
- เส้นทางการพัฒนาและฝึกอบรมของบุคลากร (Training Roadmap and Training Plan) สำหรับพนักงานทุกระดับ โดยมุ่งส่งเสริมความก้าวหน้าและพัฒนาศักยภาพให้กับพนักงาน ผ่านการเพิ่มทักษะความรู้ในการปฏิบัติงานที่มีความหลากหลายครอบคลุมทั้งหลักสูตรภายในประเทศและต่างประเทศ
- ระบบ Share Drive ของสายงานเพื่อแบ่งปัน (Knowledge Sharing) ถ่ายทอด และเผยแพร่เอกสารการฝึกอบรม
- แผนพัฒนา Competency Gap เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยค้นหาจุดที่พนักงานจำเป็นต้องพัฒนา สรุปสมรรถนะของพนักงานที่ควรปรับปรุงหรือพัฒนา และทำให้หัวหน้างานได้มีโอกาสประเมินความสามารถของทีมในแต่ละตำแหน่งงาน ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการกำหนดหลักสูตรหรือแผนที่จำเป็นในการพัฒนาตามสมรรถนะของพนักงานที่ต้องที่ต้องการปรับปรุงต่อไป
โปรแกรมฝึกอบรมพนักงาน
บริษัทกำหนดหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพพนักงานมีทั้งแบบภายในและภายนอก เพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กรในการเป็นผู้นำทางด้านการผลิตไฟฟ้าจากทรัพยากรที่ยั่งยืน และเพื่อเสริมสร้างความรู้แล้วทักษะที่จำเป็นต่อการจ้างงานของพนักงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานให้มีทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและโอกาสทางสายอาชีพ อีกทั้งสามารถดึงองค์ความรู้และประสบการณ์ถ่ายทอดต่อให้กับพนักงานระดับปฏิบัติงานได้ โดยแบ่งประเภทหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับพนักงานและตำแหน่งงาน ดังต่อไปนี้
รายละเอียดหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพพนักงานมีแบบภายในและภายนอกมีดังต่อไปนี้
หลักสูตร | ขอบเขตการฝึกอบรม | ทักษะที่ได้รับ |
---|---|---|
หลักสูตรภายใน |
||
Core Value | สำหรับพนักงานทุกคน | การสอนงาน ทำงานเป็นทีม ปรับตัว ปฏิบัติตามจริยธรรมในการทำงาน รับผิดชอบในงาน |
Kaizen | ปรับปรุงการทำงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง | |
Outward Mindset | ปรับเปลี่ยนมุมมองการทำงานและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นเพื่อสร้างผลลัพธ์ใหม่ | |
Outward Mindset for Leader | นำเครื่องมือเข้ามาใช้และขับเคลื่อนเพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองการทำงานให้กับทีม | |
Business Proposals และ Report Writing | สำหรับเพิ่มทักษะและพัฒนาศักยภาพของพนักงานเฉพาะด้าน | เขียนและสรุปรายงานเชิงธุรกิจ |
SAP | เปิด PR/PO Ticket ผ่านระบบ SAP | |
Storytelling for Influence | สำหรับพนักงานที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้าน | เล่าเรื่องเพื่อโน้มน้าวใจผู้ฟัง |
Creative slide for Presentation | สร้างสไลด์นำเสนอได้อย่างน่าสนใจ | |
PDPA | รู้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | |
Sustainability (THSI) | ตระหนักรู้ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อบริษัท | |
Microsoft 365 | รู้และใช้เครื่องมือคำสั่งลัดของโปรแกรม | |
ทบทวนการทำงานเกี่ยวปั่นจั่น | สำหรับพนักงานที่รับผิดชอบงานเฉพาะด้าน เพื่อเพิ่มศักยภาพเชิงลึก | ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้งานปั้นจั่น |
ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 |
เรียนรู้มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม | |
ข้อกำหนดด้านคุณภาพ 9001:2015 | เรียนรู้ระบบการบริหารคุณภาพ | |
การฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการจริงภาคสนามกรณีท่อก๊าซรั่วไหลติดไปในพื้นที่ที่กำหนด | รู้วิธีรับมือที่ถูกต้องกรณีท่อก๊าซรั่วไหลในพื้นที่ที่รับผิดชอบ | |
เทคนิคการผจญเพลิง และระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO45001:2018 | ควบคุม ระงับเหตุ และใช้อุปกรณ์ควบคุมเพลิงตามกฎหมาย และข้อกำหนดด้านความปลอดภัย |
|
การประเมินความเสี่ยงและโอกาสด้านความปลอดภัย | ประเมินและวางแผนควบคุมเพื่อลดความเสี่ยง | |
First Aid & CPR | ปฐมพยาบาลและช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น | |
โภชนาการ | รู้หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความสะอาดด้านโภชนาการ | |
Internal Audit 3 ระบบ(9001:201514001:2015, 45001:2018) | รู้เทคนิคและมาตราฐานในการตรวจสอบภายใน ด้านการบริหารคุณภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย | |
ฝึกซ้อมดับเพลิง และอพยพหนีไฟ | ใช้อุปกรณ์ดับเพลิงขั้นพื้นฐานและอพยพได้อย่างปลอดภัย ควบคุมเพลิงขั้นต้น | |
หลักสูตรภายนอก |
||
The Standard Economic Forum |
คณะกรรมการและผู้บริหาร |
วางแผนรับมือกับเศรษฐกิจหลังโควิด 19 ได้ตามแนวโน้มในอนาคต |
The world สร้างความเข้าใจ และประเด็นหลัก TFRS for NPAEs ทั้งหมด | รู้แนวทางในการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) และปัญหาในทางปฏิบัติทางการบัญชี | |
After Covid: How Thailand wins is the Next Normal | วางแผนรับมือผลกระทบเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด | |
Singularity U Virtual Summit Thailand 2020 | รับมือกับงานและการลงทุนระดับโลกและประเทศในยุคหลังโควิด | |
Outward Mindset at Work | ปรับเปลี่ยนมุมมองของตนเองและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นในการทำงาน | |
Growth Mindset | ฝึกคิดให้ทำได้ แก้ได้ มีทางออก | |
The Four Houses of DISC | รู้จักและทำงานร่วมกับคนที่มีรูปแบบแตกต่างกัน | |
Gas Insulated Substation | เข้าใจหลักการพื้นฐาน ออกแบบ ติดตั้งการใช้งาน บำรุงรักษาและทดสอบตามข้อกำหนดเกี่ยวกับ GIS | |
ผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาที่มีผลต่องบการเงิน | วางแผนจัดทำงบการเงินตามมาตรฐาน NPAEs โดยวิเคราะห์ผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด | |
พัฒนาการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามกรอบ GRI Standards Certified Training Course | ทำรายงานความยั่งยืน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน GRI | |
Gallup Global Strengths Coach | นำเครื่องมือฝึกหาจุดแข็งและพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มผลิตผลของทีมงาน | |
Leadership for Manager จากสถาบัน SEAC | รู้เครื่องมือพื้นฐานการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำและบริหารทีมงาน |
โครงการพัฒนาศักยภาพแก่พนักงาน
โครงการอ้วนลดพุง
โรคอ้วนเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ อาทิ เบาหวาน ความดัน และโรคหัวใจ อันส่งผลอันตรายแก่พนักงาน ดังนั้น บริษัทจึงดำเนินโครงการลดอ้วนลดพุง ส่งเสริมให้พนักงานออกกำลังกายและกินอาหารอย่างถูกวิธี ภายใต้ข้อกำหนดการดูแลพนักงานของบริษัท จากการดำเนินโครงการในปี 2564 พบว่า พนักงานที่เข้าร่วมโครงการฯ มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีกว่าพนักงานที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ และมีระดับความเครียดจากการทำงานลดลง อีกทั้งระดับความพึงพอใจของพนักงานที่เพิ่มขึ้นถึง 98.75% มีวันลาป่วยของพนักงานที่เข้าร่วมโครงการลดลง และอัตราการลาออกที่ลดลงจากปี 2563 จากร้อยละ 4.5 เหลือร้อยละ 3 ในปี 2564

การดูแลพนักงาน

การประเมินการทำงานของพนักงาน
ในแต่ละปี บริษัทประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงานด้วยการดูผลดัชนีชี้วัดผลสำเร็จ (KPIs) โดยจะนำผลดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับพนักงานในระดับเดียวกัน (Comparative Ranking) เพื่อพิจารณากำหนดค่าตอบแทน ตามคู่มือการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กร (CKP Performance Appraisal Manual) นอกจากนี้ บริษัทยังนำผลการประเมินการทำงานมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนพัฒนาศักยภาพรายบุคคล (Individual Development Plan) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
แผนการสืบทอดตำแหน่ง
บริษัทจัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่ง ตามนโยบายสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพภายในองค์กร เพื่อสรรหาบุคลากรที่มีศักยภาพเข้ามาทดแทนและปฏิบัติงานที่ทำให้การดำเนินธุรกิจขององค์กรดำเนินได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน แผนการสืบทอดตำแหน่งพิจารณาแต่งตั้งทดแทนตำแหน่งที่มีความสำคัญในสายงานหลัก โดยทำการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นในการสืบทอดตำแหน่ง


สวัสดิการพนักงาน
บริษัทมอบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานให้กับพนักงานประจำและลูกจ้างตามที่ปฏิบัติงาน ณ สถานประกอบการที่สำคัญของบริษัท (Significant locations of operation) หรือโรงงานไฟฟ้าของบริษัทและบริษัทในเครือที่มีพนักงานมากกว่า 100 คน ได้แก่ ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ความคุ้มครองความทุพพลภาพ การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร แผนการเกษียณอายุ และหุ้นบริษัท โดยบริษัทได้เปิดโอกาสในการทำงานให้กับกลุ่มผู้พิการตามความเหมาะสมของประเภทงาน มีการกำหนดนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการจ้างงาน การให้สิทธิสวัสดิการที่เท่าเทียมกับพนักงานทั่วไป เพื่อส่งเสริมคนพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2564 บริษัทยังไม่มีพนักงานกลุ่มผู้ด้อยโอกาสแต่อย่างใด
ทั้งนี้ บริษัทได้ระบุรายละเอียดสวัสดิการ นโยบาย ระเบียบปฏิบัติรวมทั้งระบุรายละเอียดของกระบวนการขั้นตอนการเลิกจ้างที่เป็นไปตามกฎหมายให้แพนักงานได้รับทราบซึ่งมีผลบังคับใช้ครอบคลุม 100% ของพนักงานทั้งหมด และมีการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ หรือ คสส. สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2553) และหลักสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากล โดยใน คสส. มีสมาชิกจำนวน 5 คน เป็นตัวแทนของพนักงานทั้งหมด ทำหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อคิดเห็นและแนวทางการจัดสรรสวัสดิการที่เป็นประโยชน์สำหรับพนักงานต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน รวมไปถึงตรวจสอบและควบคุมดูแลการจัดสรรสวัสดิการให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎหมายแรงงาน ตลอดจนเป็นช่องทางที่บริษัทเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีสิทธิเสรีภาพในการวมกลุ่ม และร่วมในการแสดงความคิดเห็น รับฟัง และเสนอแนะข้อที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดสวัสดิการผ่านช่องทางที่บริษัทกำหนดและเปิดเผยให้พนักงานรับทราบอย่างทั่วถึง
หมายเหตุ: ข้อมูลดังกล่าวเป็นของปี 2564
การสร้างความผูกพันธ์ต่อองค์กร
บริษัทดำเนินงานด้านการสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ผ่านกิจกรรมและการสื่อสารต่าง ๆ พร้อมทั้งมีกระบวนการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงานผ่านองค์กรภายนอกเพื่อวัดผลการดำเนินงานทุก ๆ 2 ปี ภายหลังการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของพนักงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสื่อสารผลสำรวจให้พนักงานทั่วทั้งองค์กรรับทราบ และนำผลการประเมินไปวิเคราะห์เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงการดูแลพนักงานในด้านต่าง ๆ
โดยในปีที่ 2564 บริษัทได้กำหนดมาตรการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) เพื่อเป็นการป้องกันดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ โดยมีพนักงานร้อยละ 95 ที่ใช้มาตรการการปฏิบัติงานที่บ้าน และเพื่อให้พนักงานที่ต้องปฏิบัติงานที่บ้านได้รับความสะดวกในการทำงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจึงได้จัดทำแบบสำรวจความพึงพอใจที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับประเด็นการบริหารการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส เพื่อนำความคิดเห็นไปปรับปรุงและพัฒนาแนวทางและการจัดการรวมถึงการรับมือกับการระบาดอย่างเหมาะสม และสามารถสนองตอบความต้องการของพนักงานอย่างแท้จริง
ผลการดำเนินงาน | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | เป้าหมาย ปี 2564 |
---|---|---|---|---|---|
พนักงานที่มีความผูกพันต่อองค์กร (ร้อยละ) | 74 | n/a | n/a | n/a | 75 |
ระดับความพึงพอใจของพนักงาน (ช่วงคะแนน 1-5) | 3.87 | n/a | n/a | 4.46* | 4.25 |
หายเหตุ: * ผลสำรวจความพึงพอใจของพนักงานในการบริหารการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19)